บทเรียนมัลติมีเดีย
เรื่องการคำนวนค่าAdjusted RW
โดยโปรแกรม TDRG Seeker
Specify Objective
อ่านคำชี้แจง
สื่อมัลติมิเดียนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียการคำนวณค่า Adjusted RW โดยโปรแกรม TDRG Seeker สำหรับนักศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน ชั้นปีที่ 3
หากท่านตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยแล้ว จะมีขั้นตอนการวิจัยดังต่อไปนี้ คือ
1. ผู้เข้าร่วมวิจัยทําแบบทดสอบก่อนการเรียนจํานวน 20 ข้อ
2. ผู้เข้าร่วมวิจัยเรียนรู้เรื่องการคำนวณค่า Adjusted RW โดยโปรแกรม TDRG Seeker จำนวน 3 บท ได้แก่
1. ที่มาและความสำคัญของโปรแกรม TDRG Seeker
2. การใช้โปรแกรม
2.1 การติดตั้งโปรแกรม
2.2 การใช้โปรแกรม
3. การแปรผลและการนำไปใช้
3. ผู้เข้าร่วมวิจัยทําแบบทดสอบหลังการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ
4. ผู้เข้าร่วมวิจัยทําแบบประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนมัลติมีเดีย
ที่มาของการพัฒนากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในประเทศไทย
การพัฒนากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในประเทศไทย เริ่มอย่างเป็นระบบในปี 2536 โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เพื่อเป็นทางเลือกของวิธีการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาล
การวิจัยครั้งแรกในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
10 จังหวัดประสบผลสำเร็จ ได้กลุ่มโรคทางอุบัติเหตุกว่า 100 กลุ่ม ต่อมาจึงขยายการวิจัยออกไปสู่ผู้ป่วยที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล และในที่สุดถึงผู้ป่วยทุกรายที่เข้านอนรักษาในโรงพยาบาล โดยนำฐานข้อมูลผู้ป่วยในระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์เปรียบเทียบกันระหว่างโรงพยาบาล กิจกรรมทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดความมั่นใจว่า ระบบการคลังสุขภาพที่ใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเป็นเกณฑ์จ่ายเงิน น่าจะใช้ได้กับประเทศไทยดังนั้น ในปี 2541 สำนักงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้ใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เพื่อการจ่ายเงินผู้ป่วยในสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล กรณีค่ารักษาราคาสูง
โปรแกรมการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ฉบับที่ 1 นำออกใช้ในปี2541 ตามด้วยฉบับที่ 2 ในปี 2543 เป็นการเปรียบเทียบผลการวิเคระห์ด้วยโปรแกรมการจัดกลุ่มที่ไทยพัฒนาขึ้นเองกับโปรแกรมจัดกลุ่มของต่างประเทศให้ผลดีขึ้น และเมื่อรัฐบาลกำลังขยายนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2545 กลุ่มนักพัฒนาและวิจัยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมได้การสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานประกันสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก พร้อมกับความร่วมมือจากราชวิทยาลัย วิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ ร่วมกันกำหนดเป้าหมายพัฒนากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับที่ 3 โดยมีกลุ่มโรคเพิ่มจาก 500 เป็นประมาณ 1,000 กลุ่ม มีการต่อยอดองค์ความรู้ต่างประเทศ ผสมผสานกับการพัฒนาจากฐานข้อมูลของไทยเอง (ประเทศไทยมีการใช้รหัสโรค ICD-10 และรหัสหัตถการ ICD9-CM ไม่เหมือนกับต่างประเทศ)
TDRG Seeker คืออะไร?
โปรแกรมที่สร้างโดยสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย เพื่อเป็นทางเลือกของวิธีการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาล นอกเหนือจากการจ่ายตามรายการและการจ่ายตามอัตราเหมาจ่ายรายหัว
โดยโปรแกรมจะแสดงผลการหา DRG เฉพาะราย (ราย case)
วิธีเล่น
กด
เพื่อเล่นเกม
ทำกันได้มั้ย
เจ้าพวกลูกเจี๊ยบ
Assess
Performance
เรียนเสร็จแล้วอย่าลืมทำแบบทดสอบหลังเรียนและประเมินความพึงพอใจนะ
ประวัติผู้จัดทำ
ประวัติโดยสังเขป
ชื่อ : นางสาวเลศยา สมสุด
วัน เดือน ปี (เกิด) : 27 กันยายน 2544
อีเมล : Lessaya.som@kmpht.ac.th
หมายเลขโทรศัพท์ : 091-8396998
ID Line : @Coffee2709
นักศึกษาวิทยาศาตรบัณทิต สาขาเวชระเบียน ปี4 รุ่น46
ประวัติโดยสังเขป
ชื่อ : นางสาวมนพร พงษ์วิเศษ
วัน เดือน ปี (เกิด) : 29 สิงหาคม 2544
อีเมล : Manapron.pon@kmpht.ac.th
หมายเลขโทรศัพท์ : 091-4455703
ID Line : @green2908
นักศึกษาวิทยาศาตรบัณทิต สาขาเวชระเบียน ปี4 รุ่น46
อาจารย์ที่ปรึกษา
ประวัติโดยสังเขป
ชื่อ : นางสาวปาริชาติ จันทร์เที่ยง
อีเมล : Parichat@kmpht.ac.th
หมายเลขโทรศัพท์ : 087-6831902
ID Line : fonjpai
ตำแหน่ง : อาจารย์
ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารสุขภาพ
สังกัด : วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก